โรคหอบหืด โรคหวัดภูมิแพ้ ถือเป็นโรคที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตรุนแรงที่สุด หรือกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการคัดจมูก จามบ่อย คันตา คันคอ น้ำมูกใสไหลเอง หรืออาจข้นเป็นช่วงๆ อาการดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างเรื้อรังและอาจกำเริบเป็นระยะๆ โดยโรคหวัดภูมิแพ้นี้ ปัจจุบันมีหลักฐานชัดเจนว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ความเสี่ยงของการเกิดโรคขึ้นอย่างมาก วิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันหรือรักษาโรคหอบหืดอย่างได้ผลคือ การรักษาโรคหวัดภูมิแพ้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

โรคหอบหืด คืออะไร

โรคหอบหืด คือภาวะของปอด ซึ่งทำให้การหายใจติดขัดมีเสียงหวีด ไอ หายใจไม่ทัน มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และอาการอาจหายได้เมื่อโตขึ้น หรืออาจกลับมาเป็นอีกได้ ในบางรายอาจเริ่มมีอาการครั้งแรกเมื่อเวลาเป็นผู้ใหญ่ ผู้ป่วยอาจเริ่มไอหรือหายใจมีเสียงหวีดเมื่อ

  • ออกกำลังกาย
  • สูดหายใจสารก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้เข้าไป เช่น ฝุ่นละออง ละอองเกสร เชื้อรา หรือ ขนสัตว์
  • สูดหายใจสารก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อปอด เช่น อากาศเย็น ไวรัส และควันบุหรี่

เมื่อผู้ป่วยมีอาการไอและหายใจมีเสียงหวีด นั่นแสดงว่าโรคหืดกำเริบ

  • ผู้ป่วยอาจมีอาการเพียงไม่กี่นาทีหรือนานหลายวัน
  • ผู้ป่วยอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย ปานกลาง หรือรุนแรง
  • อาการสามารถกำเริบได้ทุกที่ ทุกเวลา
  • อาจรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้

ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ

ภูมิแพ้ ตัวการสำคัญของโรค

ตัวอย่างของภาวะหรือสิ่งที่กระตุ้นให้โรคกำเริบคือ การหายใจเอาสารที่แพ้เข้าไปในหลอดลม ภาวะติดเชื้อ โพรงจมูกอักเสบ กลิ่นน้ำหอม ยาฆ่าแมลง กลิ่นอับ กลิ่นท่อไอเสีย กลิ่นบุหรี่ ภาวะอากาศ ภาวะแพ้ยา สารสี สารเคมีต่าง ๆ และภาวะเครียด ในเด็กที่เป็นโรคหอบหืดส่วนใหญ่ 2 ใน 3 จะมีภาวะภูมิแพ้ด้วย แต่ในผู้ใหญ่ต่างกันที่ส่วนใหญ่จะไม่มีภาวะภูมิแพ้ ความเข้าใจผิดคือความเข้าใจที่ว่าโรคหอบหืดเป็นผลจากภาวะภูมิแพ้ซึ่งไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป ผู้ป่วยโรคนี้มีมากประมาณ 10 – 13% ของเด็กและผู้ใหญ่ และเป็นเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อย

โรคหอบหืดเกิดขึ้นได้อย่างไร

เมื่อมีอาการหอบหืด เยื่อบุทางเดินหายใจในปอดจะบวมขึ้นเล็กน้อย เมื่อออกกำลังกายหรือหายใจสิ่งที่กระตุ้นอาการหอบหืดเข้าไปจะทำให้เกิดอาการดังนี้

  • กล้ามเนื้อทางเดินหายใจเกร็งตัว
  • เยื่อบุทางเดินหายใจบวมขึ้น
  • มีการผลิตน้ำมูกและสารคัดหลั่งมากเกินไป

เมื่อเกิดอาการเหล่านี้ ทางเดินหายใจจะตีบเล็กลง ทำให้อากาศผ่านเข้าออกได้ยากขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการ

  • แน่นหน้าอก
  • หายใจไม่ทัน
  • ไอ
  • หายใจมีเสียงหวีด

วินิจฉัยโรคหอบหืดในเด็ก

การวินิจฉัยโรคหอบหืดในเด็ก โดยทั่วไปแล้วยากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กจำนวนไม่น้อยที่มีอาการอื่นร่วมด้วย เด็กบางคนไม่มีอาการหอบเลยก็ได้ ส่วนใหญ่ประวัติการเจ็บป่วยของเด็กจะไม่ค่อยสมบูรณ์ เพราะข้อมูลได้มาจากผู้ปกครอง พี่เลี้ยง ครูที่โรงเรียนหรือตัวเด็กเอง อาการสำคัญคือ ไอตอนเช้า กลางคืน ไอเวลาวิ่งเล่น หรือหลังวิ่งเล่น คัดจมูก น้ำมูกไหลร่วมด้วย ในเด็กเล็กที่หอบอาจมีสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่โรคหอบหืด เช่น โรคหัวใจ โรคติดเชื้อในปอด สารแปลกปลอม ถั่ว ข้าวโพดคั่วติดในหลอดลม หรือโรคทางเดินอาหารบางชนิด การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้โรคหอบหืดกำเริบ ส่วนใหญ่จะติดเชื้อไวรัสมาจากที่ชุมชน

วิธีการรักษาโรคหอบหืด

การรักษาโรคหอบหืดจะแตกต่างกันในคนไข้แต่ละคน ขึ้นอยู่กับความแรงของโรค อายุคนไข้ และภาวะที่เกิดร่วมกับโรคหอบหืด เช่น ภาวะภูมิแพ้ หรือโพรงจมูกอักเสบเรื้อรังทั่วๆ ไป โดยแนวทางรักษาที่เป็นที่ยอมรับ ได้แก่

  • แนะนำให้ใช้การตรวจสอบสมรรถภาพของปอดเพื่อบ่งชี้ความรุนแรงของโรคและเพื่อติดตามวัดผลการรักษา
  • การใช้ยาเพื่อลดการอักเสบหรือป้องกันการอักเสบของเยื่อบุหลอดลมร่วมกับการใช้ยาเพื่อคลายกล้ามเนื้อรอบหลอดลมที่หดตัว
  • การควบคุมภาวะแวดล้อมต่าง ๆ โดยเฉพาะในคนไข้ที่มีภาวะภูมิแพ้ด้วย รวมถึงการรักษาเฉพาะเจาะจงในภาวะภูมิแพ้
  • การให้ความรู้คนไข้และครอบครัวที่เกี่ยวกับโรคหอบหืดและการปฏิบัติตน เช่น เลิกบุหรี่ วิธีการออกกำลังกาย และวิธีใช้ยาที่ถูกต้อง

การรักษาอย่างต่อเนื่องมีความสำคัญที่สุดในโรคหอบหืด คนไข้ส่วนใหญ่หรือแพทย์ส่วนใหญ่จึงต้องตระหนักอยู่เสมอเพื่อผลการรักษาที่น่าพึงพอใจ ยารักษาโรคหืดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ยาบรรเทาอาการฉับพลันและยาควบคุมโรคระยะยาว

  • ยาบรรเทาอาการฉับพลัน ช่วยเปิดทางเดินหายใจเพื่อให้อากาศผ่านเข้าออกได้ ใช้รักษาอาการหอบหืดกำเริบ บางครั้งจะเรียกว่ายากลุ่มนี้ว่าเป็นยา rescue medicine เพราะออกฤทธิ์เร็ว อัลบูเทอรอล (albuterol) คือยาชนิดหนึ่งที่ใช้มากในผู้ป่วยโรคหืด
  • ยาควบคุมโรคระยะยาว ช่วยป้องกันไม่ให้ทางเดินหายใจบวม มักต้องใช้ระยะยาว หากผู้ป่วยเริ่มมีอาการหายใจหวีดจะไม่สามารถใช้ยากลุ่มนี้เพื่อหยุดอาการกำเริบของโรคหืดได้ แต่ยาจะช่วยป้องกันอาการได้เมื่อใช้ยาเป็นประจำทุกวัน

ยาบรรเทาอาการโรคหอบหืดอยู่ในรูปยาพ่นหรือยาสูด ยากลุ่มอื่นอาจจะอยู่ในรูปของยาพ่น ยาสูด หรือยาเม็ด แพทย์จะแนะนำยาที่เหมาะกับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน

  • ผู้ป่วยควรพกยาบรรเทาอาการติดตัวอยู่เสมอ และใช้เมื่อเริ่มไอหรือหายใจติดขัดหรือมีเสียงหวีด
  • ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องใช้ยาควบคุมโรคทุกวันร่วมด้วยเช่นกัน
  • ผู้ป่วยจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการใช้ยาพ่นหรือยาสูดอย่างถูกต้อง
  • ให้แพทย์หรือพยาบาลอธิบายวิธีการใช้ยาพ่นหรือยาสูดที่ถูกต้อง เพราะผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมักมีวิธีการใช้แตกต่างกัน ยาบางตัวผู้ป่วยอาจจะต้องเม้มริมฝีปากรอบเครื่องพ่นยา ในขณะที่บางตัวอาจจะต้องถือห่างจากปากแล้วพ่น
  • ให้เภสัชกรอธิบายวิธีดูว่าตัวยาหมดแล้วหรือยัง
  • ผู้ป่วยควรใช้อุปกรณ์ชื่อ “Peak Flow Meter” เพื่อตรวจวัดการหายใจ
  • ผู้ป่วยต้องพ่นลมแรงและเร็วที่สุดเข้าไปใน Peak Flow Meter เพื่อตรวจการหายใจ
  • เครื่อง Peak Flow Meter จะช่วยเตือนผู้ป่วยหากอาการหอบหืดแย่ลง ผู้ป่วยจะทราบโดยทันทีว่าจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเพื่อป้องกันอาการกำเริบหรือต้องพบแพทย์โดยทันทีหรือไม่ แพทย์จะอธิบายวิธีใช้เครื่องเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถติดตามอาการหอบหืดของตนเองได้

โรคหอบหืด

ยาพ่นของโรคหอบหืด

สำหรับยาพ่นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ยาควบคุมโรคและยาบรรเทาอาการ

  1. ยาควบคุมโรค เป็นยาสูดพ่นที่มีองค์ประกอบเป็นสเตียรอยด์ช่วยลดการอักเสบของหลอดลม ต้องใช้อย่างสม่ำเสมอ แม้จะไม่มีอาการ
  2. ยาบรรเทาอาการเป็นยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์เร็ว ใช้เมื่อมีอาการหืดกำเริบเฉียบพลัน หรือเมื่อมีอาการหายใจลำบากเกิดขึ้น

ที่สำคัญผู้ป่วยควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และใส่ใจในเรื่องการพักผ่อนที่เพียงพอ ลดน้ำหนักในกรณีที่อ้วน หลีกเลี่ยงความเครียดทางจิตใจ รวมถึงหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และมลพิษในอากาศรวมทั้งงดสูบบุหรี่ ที่กระตุ้นให้หอบหืดกำเริบ

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ยา

  • การปรับขนาดยาต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ อย่าปรับยาหรือหยุดด้วยตนเอง แม้อาการจะดีขึ้นแล้ว
  • ผู้ป่วยต้องพกยาฉุกเฉินติดตัวไว้ เพื่อบรรเทาอาการเมื่อหอบหืดกำเริบ และคนรอบข้างควรรู้ตำแหน่งที่คนไข้เก็บยาเอาไว้ หากฉุกฉินคนรอบข้างจะได้ช่วยเหลือทัน

ใช้ยาพ่นบ่อยๆ ปลอดภัยไหม

การใช้ยาพ่นจะมีความปลอดภัย เนื่องจากปริมาณของการใช้ยาพ่นในแต่ละครั้งต่ำกว่ายากิน เพราะยาออกฤทธิ์โดยตรงที่หลอดลม ในขณะที่ยากิน 1 ช้อนชา หรือ 1 เม็ด จะมีปริมาณยามากกว่า เพราะยาใช้ เวลาเดินทางนานกว่าและดูดซึมช้ากว่า ยาพ่นจึงปลอดภัยแม้จะต้องสูดหรือพ่นติดต่อกันหลายเดือนก็ตาม โดยตัวยาออกฤทธิ์เร็ว และ หมดฤทธิ์เร็ว ไม่มีผลทำให้ติด หรือดื้อยา หากพ่นในขนาดยาที่ถูกต้อง ปลอดภัยสูง ทั้งในระยะสั้นและไม่มีผลข้างเคียงในระยะยาว

ยาทั้งสองแบบแม้ว่าจะมีวิธีการใช้ที่ต่างกัน รูปแบบต่างกัน แต่หัวใจสำคัญที่เหมือนกัน คือ การบรรเทารักษาอาการหรือโรคที่เป็นอยู่ให้หาย สำหรับเด็กเล็กที่มีอาการเกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ การใช้ยาพ่นขยายหลอดลม เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่ดีและปลอดภัย ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูก หากมีอาการดังกล่าวข้างต้นควรรีบมาพบแพทย์ อย่างไรก็ตามการพ่นยาในแต่ละครั้ง แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจ และวางแผนการรักษาให้ ในรายที่ต้องพ่นยาบ่อยๆ ไอเรื้อรัง แนะนำให้มาพบกุมารแพทย์เฉพาะทางโรคปอด หรือ ภูมิแพ้ เพราะลูกอาจเป็นภูมิแพ้ โรคหอบหืดโดยไม่ได้รับการวินิจฉัย หรือการรักษาที่เหมาะสม เพื่อควบคุมอาการในระยะสั้น และเพื่อควบคุมสมรรถภาพของปอดให้ดีในระยะยาวอีกด้วย

ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยโรคหอบหืด

ผู้ป่วยจำเป็นต้องปฏิบัติตัวดังนี้

  • เรียนรู้ สังเกตตนเองเมื่อเริ่มมีอาการ
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างถูกต้องครบถ้วน
  • ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี

ผู้ป่วยควรจัดบ้านให้ปราศจากสิ่งที่อาจกระตุ้นอาการ หายใจติดขัด

– เครื่องนอน

  • คลุมฟูก เตียงนอน หมอนด้วยแผ่นคลุมพลาสติกแบบมีซิป
  • ซัก ทำความสะอาดเครื่องนอนด้วยน้ำร้อนและสบู่หรือผงซักฟอกสัปดาห์ละครั้ง
  • ทำความสะอาดและนำหมอนผึ่งแดดเดือนละครั้ง

– ผู้ป่วยโรคหอบหืดควรหลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์เลี้ยง ถ้าหากว่าผู้ป่วยมีสัตว์เลี้ยงอยู่แล้ว

  • ควรอาบน้ำ ทำความสะอาดสัตว์เลี้ยงทุกสัปดาห์
  • ดุดฝุ่นทุกวัน
  • ใช้เครื่องกรองอากาศแบบ HEPA ภายในบ้าน

– ผู้ป่วยโรคหอบหืดควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อราหรือสารกระตุ้นอาการ ทำให้หายใจติดขัด

  • หากใช้เครื่องทำความชื้นภายในบ้าน ควรหมั่นทำความสะอาดเพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อรา
  • หลีกเลี่ยงการออกไปนอกบ้านหรืออาคารเมื่อมีค่าความชื้นหรือฝุ่นละออง PM 2.5 ในอากาศสูง
  • ใช้เครื่องปรับอากาศ แทนการเปิดหน้าต่าง
  • หลีกเลี่ยงควันบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงควันรถ ไอระเหยของสารเคมี เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ

ควรพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการดังนี้

  • หายใจลำบาก ติดขัด ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะยังคงใช้หรือรับประทานยาหอบหืดตามปกติ
  • มีอาการไอหรือหายใจมีเสียงหวีดมากผิดปกติ ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะยังคงใช้หรือรับประทานยาหอบหืดตามปกติ

เมื่ออาการโรคหอบหืดกำเริบและไม่ดีขึ้นหลังใช้ยาสูดพ่นชนิดบรรเทาอาการฉับพลัน โดยอาจขอให้คนใกล้ชิดขับรถพาไปแผนกฉุกเฉินหรือโทรแจ้งสายด่วน

 

เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ

 

ที่มาของบทความ

 

ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  thewhiteroomtherapy.com

สนับสนุนโดย  ufabet369